สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากำลังคนดิจิทัลของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเยาวชนไทยที่จะเติบโตเป็นบุคลากรสำคัญของชาติต่อไป ดีป้ามุ่งส่งเสริมและพัฒนาทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 ครอบคลุมทั้งในกลุ่มบุคลากรทางการศึกษา และ กลุ่มเยาวชน ได้รับการพัฒนาทักษะด้าน Coding , STEM , IoT และ AI เพราะการจะพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพหรือมีทักษะทั้งหลาย ครูคือผู้ที่สําคัญยิ่งที่จะช่วยสนับสนุน ส่งเสริม อํานวยความสะดวก คอยชี้แนะแนวทาง คอยเป็นที่ปรึกษา ผลักดันและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ จนกระทั่งสามารถแสดงศักยภาพต่าง ๆ ออกมาได้อย่างครบถ้วน และครูผู้สอนที่ดีต้องมีลักษณะ และมีสมรรถนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสามารถนําความรู้ ทักษะ และเจตคติของตนเองมาพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ มีทักษะ และมีเจตคติที่ดี ที่พร้อมจะออกไปประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ในที่สุด
กิจกรรมจัดทำขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้แนวคิด การแก้ปัญหา (Problem Solving) และกิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางความคิดเชิงตรรกะ (Logic) สร้างสรรค์ (Creativity) ไม่ว่าจะเป็น การใช้สื่อการสอน Coding ที่ได้มาตรฐาน การปูพื้นฐานทักษะการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python ซึ่งเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับการเรียนรู้ Coding ในปัจจุบัน ดังนั้นผู้รับการอบรมจะสามารถเก็บเกี่ยวความประสบการณ์ เทคนิคต่าง ๆ โดยตรงได้ จากวิทยากร และมีแนวคิดที่ถูกต้องเพื่อเสริมทักษะในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ครูสามารถนำทักษะเทคโนโลยี ดิจิทัลมาใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง ครูสามารถสร้างสื่อดิจิทัล เพื่อพัฒนาทักษะโค้ดดิ้งให้กับนักเรียนผ่าน ระบบเรียนออนไลน์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
หรือแม้แต่ช่วงกระแพร่ระบาดโควิด-19 การส่งเสริมทักษะให้แก่ครูยังคงดำเนินหน้าต่อในรูปแบบออนไลน์
ทักษะด้านโค้ดดิ้ง ถือเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกได้กำหนดให้เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน โดยเริ่มเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เพื่อการต่อยอดโครงการส่งเสริมการแบบครบวงจร depa จึงดำเนินการส่งเสริมความรู้ทักษะด้านโค้ดดิ้ง และ ทักษะที่เกี่ยวข้องให้กับเยาวชนทั่วประเทศ และ ต่อยอดสู่การพัฒนานวัตกรรม ที่สะท้อนให้เห็นว่าโค้ดดิ้งเป็นทักษะที่ทั่วโลกให้ความสำคัญให้แก่อนาคตของประเทศ เพื่อรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจใหม่ รวมถึงบ่มเพาะเด็กและเยาวชนสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในอนาคต โดยมีเป้าหมายระยะยาวเพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
การสร้างเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีทักษะพร้อมต่อยอดเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่เปรียบเสมือนห้องเรียนออนไลน์กระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ให้แก่เยาวชนยุคดิจิทัล รวมถึงพัฒนาทักษะ Coding ให้แก่เยาวชนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อฝึกฝนกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรม อันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล เพื่อเตรียมเข้าสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ